9 หน้าแรก 5 เด็กและเยาวชน 5 สถานการณ์เยาวชนในประเทศไทย

สถานการณ์เยาวชนประเทศไทย

เด็กและเยาวชนคืออนาคตของชาติ ดังนั้นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง  มาสู่ครอบครัว,ชุมชนและประเทศชาติ จริงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก แต่ สถานการณ์เด็กและเยาวชนในประเทศไทยที่เรากำลังเผชิญนั้นมีหลายอย่าง ทั้งในเรื่องของปริมาณและคุณภาพ ในเชิงปริมาณ เรามีจำนวนเด็กที่เกิดใหม่น้อยลง ทำให้ในอนาคตประชากรในวัยทำงานก็จะมีน้อยลงและเขาจะต้องดูแลทั้งประชากรผู้สูงอายุและเด็ก  ในเชิงคุณภาพนั้น เด็กและเยาวชนไทยกำลังเผชิญปัญหาในทุกด้าน เช่น ด้านร่างกาย เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร, ด้านจิตวิญญาณ เรื่องการยอมรับการคอรัปชั่นและวัตถุนิยม, ด้านสังคมอารมณ์ เรื่องการใช้ความรุนแรง, ด้านการศึกษา เรื่องระดับสติปัญญาที่ต่ำกว่ามาตราฐาน ซึ่งปัญหาต่างๆเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ปัญหาที่เราเห็นในสังคมเท่านั้น เยาวชนในคริสตจักรก็เผชิญปัญหาเหล่านี้เหมือนกัน

การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

เด็กไทยเริ่มมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น เมื่ออายุเฉลี่ย 12 ปีและกว่า 50% ไม่มีการป้องกัน ทำให้เกิดปัญหาต่อมาในเรื่องการท้องก่อนวัยอันควร โดยจากสถิติกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ปี 2554 หญิงไทยกว่าปีละ 70,000คน คิดเป็น 70%ที่ท้องไม่พร้อมและเพิ่มขึ้น 3.6% ต่อปี โดยอายุเฉลี่ยของแม่อยู่ที่ 10-19 ปี จำนวนเด็กทั้งหมดที่เกิดมา 131,400 คนหรือคิดเป็น 17% ของหญิงคลอดบุตรทั้งหมดในประเทศ (รักต้องเซฟ:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ,หน้า 31)   และจากข้อมูลของสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย เมื่อปี 2555 รายงานว่าวัยรุ่นและเยาวชนอายุต่ำกว่า 25 ปี ทำแท้งร้อยละ 46.5 ขณะที่มีการทำคลอดในหญิงอายุต่ำกว่า 15 ปี เท่ากับ 3,725 ราย และจากข้อมูลสภาวการณ์เด็กและเยาวชน Child Watch ในปี(2555)พบว่า เด็กและเยาวชนโดยเฉลี่ยกว่าร้อยละ 21 ยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งและอยู่ก่อนแต่ง ถึงแม้หลายหน่วยงานพยายามเข้ามาแก้ไขปัญหานี้ การแก้ปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นการรณรงค์การให้มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย(Safe Sex) แต่ในมุมมองของพระคัมภีร์นั้นเพศสัมพันธ์มีไว้เพื่อการสมรส (ในปฐมกาล 2:18,25) ผู้ที่ยังไม่ได้สมรสควรจะควบคุมความปรารถนาทางเพศ(No Sex) ซึ่งทำให้เยาวชนมีความรู้สึกขัดแย้งภายในและไม่อยากที่จะบังคับตน จนตัดสินในทำในสิ่งที่ผิด

การยอมรับการคอรัปชั่น

จากข้อมูลการสำรวจต้นทุนชีวิตเด็กและเยาวชนไทย (น.พ.สุริยเดว ทรีปาตี, ๒๕๕๒) พบว่า เด็กและเยาวชนไทยยังมีจุดอ่อนด้อยหลายประการ ที่สำคัญคือการพูดจริง และความซื่อสัตย์ แม้เด็กเรียนดีก็ยังได้คะแนนข้อนี้ต่ำ และจากผลการสำรวจของ ABAC Poll ในหัวข้องานวิจัย ” คนไทยหัวใจประชาธิปไตย กับการยอมรับได้ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย” หัวข้อสำคัญ กลุ่มเยาวชนส่วนใหญ่คือร้อยละ 68.2 ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และร้อยละ 66.4 ที่มีอายุระหว่าง 20 – 29 ปีมีทัศนคติอันตราย ยอมรับได้รัฐบาลที่ทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย โดยกลุ่มอาชีพสำคัญคือ กลุ่มพ่อค้าส่วนใหญ่ร้อยละ 66.7 มีทัศนคติอันตรายมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มนักเรียนนักศึกษาร้อยละ 67.1 เมื่อคอรั่ปชั่นกลายเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ผลที่เกิดขึ้นความไม่ยุติธรรมและความอธรรมในสังคม แต่พระเจ้าทรงเป็นพระเจ้าแห่งความชอบธรรมและความยุติธรรม(มีคาห์6:8) ผู้ทรงเป็นปากเป็นเสียงแทนผู้ที่ถูกเอารัดเอาเปรียนและถูกข่มเหง

วัตถุนิยมและความเชื่อ

ความสุขของเยาวชนไทยในปัจจุบันสะท้อนออกทางพฤติกรรมในทางวัตถุนิยม เช่นการชอบสินค้าต่างประเทศราคาแพงและการใช้อุปกรณ์อิเลคโทนิคที่เกืนความจำเป็น (แผนการพัฒนาเด็กและเยาวชน พศ. 2555-2559 (หน้า 16)  ในพจนานุกรมไทยราชบัณฑิตยสถาน(พศ.2542) ได้นิยามคำว่าวัตถุนิยมคือการให้คุณค่าแก่สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรม และแนวความคิดทางปรัชญาในเรื่องนี้คือการเห็นคุณค่าสิ่งต่างๆจากในสิ่งที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ การครอบครองวัตถุสิ่งของเพื่อทำให้ตนเองรู้สึกมีคุณค่า คนจึงยึดติดกับสิ่งที่มองเห็นและจับต้องได้มากกว่าสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสด้วยประสาททั้ง 5 ได้ เป็นผลทำให้เกิดแนวคิดที่เพิกเฉยต่อสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น ศีลธรรม ความเชื่อ เพราะความเชื่อคือสิ่งที่มองไม่เห็น (ฮีบรู 11:1) ความเชื่อคือความแน่ใจในสิ่งที่เราหวังไว้และมั่นใจในสิ่งที่เรามองไม่เห็น (TNCV)

การใช้ความรุนแรง: จากแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยแห่งชาติ พศ.2555-2559 (หน้า 17)  สถาบันจิตวิทยาเด็กและวันรุ่นราชนครินทร์(2552) รายงานว่า เด็กและเยาวชนไทยมีแนวโน้มใช้ความรุนแรงเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ ๑๐ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๔๗ และ ๒๕๕๐ ที่ผ่านมา และยังพบว่าอายุเฉลี่ยของเด็กที่ใช้ความรุนแรงจนถึงกระทั่งกระทำผิด ทางกฎหมายมีอายุน้อยลง โดยพบมากในช่วงอายุ ๑๒ – ๑๘ ปี ทั้งนี้ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน พบมากในโรงเรียนในลักษณะของการทะเลาะวิวาทระหว่างเพื่อนร่วมโรงเรียนและต่างโรงเรียน ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลสภาวการณ์ของ Child watch ปี 2555 ว่าเด็กไทยกว่าร้องละ 34 เคบพบเห็นการพกพาอาวุธเป็นครั้งคราวถึงเป็นประจำและเคยพบเห็นการทำร้ายร่างกายในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวถึงเป็นประจำ รวมถึงความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดจากการกระทำรุนแรงของสมาชิกในครอบครัวและความรุนแรงที่เผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ อาทิ โทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีอิทธิพลต่อการรับรู้และเกิดการเลียนแบบพฤติกรรมความรุนแรง รายงานจากสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ (๒๕๕๒) ซึ่งในปัจจุบันเราก็เริ่มเห็นการใช้ความรุนแรงภายในคริสตจักรและครอบครัวคริสเตียนด้วยเหมือนกัน การทะเลาะแบะแว้งกันในแวดวงคริสเตียนจนทำให้หลายๆคนไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างคนที่เป็นและไม่เป็นคริสเตียน

ระดับสติปัญญาที่ต่ำกว่ามาตราฐานและขาดทักษะชีวิต

จากโครงการการสำรวจระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทย ในปี 2554 ของสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ รายงานว่าเด็กนักเรียนไทยทั่วประเทศมีคะแนนสติปัญญา (IQ) เฉลี่ยเท่ากับ 98.59ซึ่งถือมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่ามาตรฐานสากลที่(100) และมีการกระจายตัวในลักษณะที่มีเด็กนักเรียนที่ IQ ต่ำกว่าค่าปกติมากกว่ามาตรฐานสากล และพบว่าเด็กนักเรียนกลุ่มที่มี IQต่ำ ก็จะต่ำมาก ในขณะเดียวกันเด็กนักเรียนที่ IQ สูงก็มีแนวโน้มจะสูงมาก หรืออธิบายได้ว่ามีช่องว่างของสติปัญญาระหว่างกลุ่มที่มีสติปัญญาดีกับกลุ่มที่มีปัญหาสติปัญญามาก โดยมีปัจจัยจากเรื่องของภาวะโภชนาการ, ปัจจัยจากตัวเด็กและปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมแลการเลี้ยงดู จากการสำรวจของ Child watch 2554-2555 แสดงให้เห็นแนวโน้มการศึกษาของเด็กไทยว่าน่าเป็นห่วงโดยพิจารณาจากคะแนนผลสำฤทธิ์ทางการศึกษา(Onet)ที่มีคะแนนลดลงอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับประถมศึกษาปีที่6และมัธยมศึกษาปีที่6 ในสาระวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

และจากการวิจัยพัฒนาการเด็กแบบองค์รวมของเด็กไทยของสำนักงานส่งเสริมสวัดิภาพและพิทักษ์เด็ก และเยาวชนผู้ด้วยโอกาสและผู้สูงอายุ(2554) พบว่า ทักษะชีวิตเยาวชนไทยที่มีคะแนนค่อนข้างต่ำ 5 อันดับคือ 1.ความคิดสร้างสรรค์ 2.คิดวิเคราะห์ 3.แก้ปัญหา 4.ตระหนักในตนเอง และ 5.การจัดการอารมณ์ เมื่อเยาวชนขาดทักษะในการคิดวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาทำให้ความสามารถในการวิเคราะห์และจัดการกับปัญหาของตนเองเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก

ซึ่งประเด็นเหล่านี้ก็สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เยาวชนในคริสตจักรคู่สัญญากำลังเผชิญ คือ เด็กเรียนอ่อนกว่ามาตราฐาน, ปัญหาเรื่องเพศ, คุณธรรมจริยธรรม รวมถึงคุณลักษณะที่พึ่งมีเช่นเรื่อง ไม่เข้าใจหน้าที่ความรับผิดชอบของตน ไม่มีจิตสาธารณะ ไม่รู้จักตนเอง ไม่มีวินัย และจำนวนผู้นำคริสตเตียนที่สามารถเป็นแบบอย่างให้กับเยาวชนก็มีจำนวนน้อย เพราะที่ผ่านมาคริสตจักรก็ยังไม่ได้ให้ความสำคัญในการสร้างผู้นำคริสเตียนรุ่นใหม่ ซึ่งในแต่ละไตรมาสมีการรายงานจำนวนเด็กที่ต้อนรับพระเยซูทุกไตรมาส แต่เมื่อมีการทดสอบเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการ LDP หรือ CYL จำนวนเยาวชนที่สามารถผ่านการเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้นำนั้นมีน้อยมาก แสดงว่าการพัฒนาผู้นำเยาวชนคริสเตียนนั้นยังต้องพัฒนา

จากสภาพปัญหาของเด็กและเยาวชนที่เกิดขึ้นทั้งในระดับประเทศและในชุมชนของคริสตจักรคู่สัญญา  ทางคอมแพชั่นประเทศไทยซึ่งมีเยาวชนที่ลงทะเบียนกับมูลนิธิประมาณ 13,000 คน ได้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วน จึงได้มีการวางแผนยุทธศาสตร์ในการทำงานกับเยาวชนขึ้น  เพื่อเป็นการช่วยคริสตจักรคู่สัญญาในการพัฒนาเยาวชนให้ไปถึงผลที่คาดหวังไว้ให้ได้

“เยาวชนที่จบจากโครงการจะเป็นผู้นำตามของประทานและศักยภาพที่ตนมี

ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีในครอบครัว, คริสตจักร, ชุมชนและประเทศชาติ”