กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมปางมะหัน
ในปัจจุบัน ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงทำให้ชุมชนปางมะหันเล็งเห็นถึงปัญหาและผลที่จะเกิดขึ้น เราจึงได้คิดหากิจกรรมที่สามรถช่วยอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งทำให้เกิดประโยชน์ในหลายๆ ด้าน อีกทั้งยังสามารถปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเด็ก เยาวชน หรือผู้ใหญ่ ปัญหาสิ่งแวดล้อมต้นน้ำที่ถูกบุกรุกโดยผ่านอาชีพการเพาะปลูก ใช้สารเคมีอย่างมากมาย แหล่งน้ำปนเปื้อนด้วยสารเคมี และขยะ อีกทั้งสมาชิกคริสตจักร (ผู้ปกครอง/พ่อแม่) ไม่รู้จักทำอาชีพเสริมรายได้ มีค่านิยมให้เยาวชนไปทำงานต่างประเทศ เราจึงได้จัดหาโครงการต่างๆ เช่น 1.น้ำผึ้งอารมณ์ดี สร้างบ้านผึ้งสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดสารเคมี ดูแลรักษาธรรมชาติสิ่งแวดล้อมป่าต้นน้ำ 2.สวนผักกสิกรรมธรรมชาติ ดูแล รักษา ฟื้นฟูดิน ปลอดสารเคมี 3.ผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการรักษา ดูแลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมป่าต้นน้ำ เช่น สบู่ธรรมชาติชาพันปี น้ำพริกข่าป่า ขิงฉาบ/ลูกอมขิง กล้วยฉาบหม่าล่า คอมบูฉะชาพันปี หมอนใบชาพันปี มากไปกว่านั้นยังมีพันธกิจครอบครัวพอเพียงอีกด้วย ทั้งนี้เราสามารถปลูกฝังให้คนในชุมชนตระหนักถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมอีกทั้งยังสามารถหารายได้เข้าชุมชนอีกด้วย

“การจัดการขยะอย่างยืน โดยใช้เตาเผาขยะชีวมวล ทำให้คริสตจักรมีที่กำจัดขยะที่ถูกวิธี, บริเวณโบสถ์และลำห้วยก็สะอาด สำหรับการทำน้ำมันนวดสมุนไพร นำสมุนไพรที่ปลูกเองมาใช้ ไม่มีสารเคมี สามารถขายเองได้ สร้างรายได้ให้กับตนเอง

เยาวชนแกนนำ นางสาววนิดา แซ่ลี ชื่อเล่น นิด อายุ16 ปี พูดถึงการทำงานสบู่ธรรมชาติว่า “ได้ทำสบู่ใช้เอง ดีต่อสุขภาพ ไม่มีสารเคมี ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และมีรายได้ สมุนไพรที่นำมาใช้ก็ปลูกเองในพื้นที่และมีการดูแลป่าด้วย”
กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมปางมะหัน
พันธกิจเยาวชน : กิจกรรมอาชีพรักษาสิ่งแวดล้อมป่าต้นน้ำ
- น้ำผึ้งอารมณ์ดี สร้างบ้านผึ้งสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดสารเคมี ดูแลรักษาธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ป่าต้นน้ำ
- สวนผักกสิกรรมธรรมชาติ ดูแล รักษา ฟื้นฟูดิน ปลอดสารเคมี
- ผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการรักษา ดูแลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมป่าต้นน้ำ เช่น สบู่ธรรมชาติชาพันปี น้ำพริกข่าป่า ขิงฉาบ/ลูกอมขิง กล้วยฉาบหม่าล่า คอมบูฉะชาพันปี หมอนใบชาพันปี
พันธกิจครอบครัว : กิจกรรมครอบครัวพอเพียง
- สวนครัวหลังบ้านผักปลอดสารพิษตามหลักกสิกรรมธรรมชาติรักษาสิ่งแวดล้อมในครัวเรือน
- ยาสมุนไพรพื้นฐานประจำบ้าน (ยาหม่องสมุนไพร น้ำมันนวดสมุนไพร) ปลูกสมุนไพรในสวน งดการใช้สารเคมี ดูแลรักษาพื้นที่สวนป่าต้นน้ำ
- การจัดการขยะอย่างยั่งยืนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เริ่มจากแกนนำ 12 ครัวเรือน คัดแยกขยะ รณรงค์ และจัดการเผากำจัดโดยใช้นวตกรรม “เตาเผาขยะชีวมวล” ที่สร้างโดยชาวบ้าน (ลิขสิทธิ์ อ.โกศล แสงทอง)
รายละเอียดกิจกรรม :
ที่มาปัญหา)
- ปัญหาสิ่งแวดล้อมต้นน้ำที่ถูกบุกรุกโดยผ่านอาชีพการเพาะปลูก ใช้สารเคมีอย่างมากมาย แหล่งน้ำปนเปื้อนด้วยสารเคมี และขยะ สมาชิกคริสตจักร (ผู้ปกครอง/พ่อแม่) ไม่รู้จักทำอาชีพเสริมรายได้ ค่านิยมของสังคม อำเภอแม่ฟ้าหลวงมีค่านิยมให้เยาวชนไปทำงานต่างประเทศ
จุดประสงค์
- เพื่อปลูกฝังความตระหนักในหน้าที่ของคริสเตียนในการดูแลสิ่งทรงสร้างของพระเจ้า ผ่านทางกิจกรรมอาชีพ กิจกรรมอนุรักษ์รักษาธรรมชาติสิ่งแวดล้อมป่าต้นน้ำ (ดิน น้ำ ป่า)
- เพื่อสร้างทักษะทางอาชีพเสริมรายได้ให้ครอบครัวและสร้างแนวทางอาชีพให้เด็กในโครงการบนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรชุมชนอย่างเอื้ออาทรดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมดินน้ำป่าต้นน้ำ
การดำเนินงาน
- กรรมการ/ผู้นำ บุคลากรคริสตจักร ประชุม ทบทวนนิมิต พันธกิจคริสตจักร กำหนดเป้าหมาย กิจกรรม และตารางแผนงานตามลำดับขั้นตอน
- จัดการอบรมปฏิบัติการ ศึกษาดูงาน โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของเด็ก/เยาวชน แบ่งกลุ่มกิจกรรม/กลุ่มอาชีพตามความสนใจ
- สร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือ เช่น โรงเรียนปางมะหัน อบต.เทอดไทย โครงการชาน้ำมัน บริษัท/ห้างร้าน เป็นต้น
- ปฏิบัติการตามแผนงานและทำการตลาดร่วมกับภาคีเครือข่าย
- ถอดบทเรียน และวางแผนการดำเนินงานต่อ
เวลาดำเนินการ
- เริ่มวางแผนงาน ปฏิบัติตามแผนงานโครงการที่มุ่งสู่ความยั่งยืนในปี ค.ศ.2021
- กระบวนการพัฒนาตามขั้นตอนในข้อ 3) พฤษภาคม ค.ศ.2022
ผลที่เกิดขึ้น
- เกิดกลุ่มอาชีพและขับเคลื่อนที่สามารถพัฒนาทักษะทางอาชีพสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ตามบริบทชุมชนที่เชื่อมโยงไปสู่การดูแลรักษาอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมพื้นที่ป่าต้นน้ำ
- เกิดกระบวนการจัดการขยะอย่างยั่งยืนที่เริ่มจากครอบครัว ไม่มีการขยะในลำห้วย ซึ่งเริ่มต้นที่คริสตจักร
- เกิดเครือข่ายภาคีความร่วมมือที่พร้อมให้ความร่วมมือสนับสนุนตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน/องค์กร
ช่วงเวลาที่ทำ : ตลอดปี
ผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
- เด็ก/เยาวชนในโครงการ
- ผู้ปกครองเด็ก
- โรงเรียนบ้านปางมะหัน
- สมาชิกชุมชน
- องค์การบริหารส่วนตำบลเทอดไทย
- โครงการชาน้ำมัน มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
- ต้นสังกัดคริสตจักร
- บริษัทเอกชน
- หน่วยงานทหารมวลชนสัมพันธ์
จำนวนผู้ร่วมทำกิจกรรม
- ตลอดกระบวนการตามข้อ 3) และ ข้อ 7) มีจำนวนไม่น้อยกว่า 100 คน
ขอบคุณผู้ให้สัมภาษณ์:
นายเจียรศักดิ์ จะลอ ผู้จัดการ 0648979770 อีเมล์ Jiarasak.calow@gmail.com