ความแตกต่างระหว่างสองวิธีในการพัฒนาเด็กอาจกล่าวได้ย่อๆ
จากลักษณะหลักของแต่ละวิธีเปรียบเทียบกันให้เห็นได้ในตารางต่อไปนี้
การสร้างวินัยคือ
- ให้ทางเลือกในเชิงบวกแก่เด็ก
- แสดงการรับรู้หรือให้รางวัล / ความชื่นชมต่อพฤติกรรมที่พึงประสงค์
- เมื่อเด็กทำตามกฎระเบียบเพราะได้พูดคุยและตกลงกันเกี่ยวกับกฎระเบียบเหล่านั้นแล้ว
- มีการให้แนวทางที่หนักแน่นมั่นคงและเสมอต้นเสมอปลาย
- เคารพศักดิ์ศรีและมองเด็กในด้านบวก
- ปราศจากความรุนแรงทั้งทางวาจาและการกระทำ
- มีการให้ผลกระทบที่เป็นเหตุผลและเกี่ยวข้องโดยตรงกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็ก
- เมื่อเด็กต้องแสดงความเสียใจและทำอะไรบางอย่างเพื่อทดแทนหรือชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำผิดของตนเอง
- การเข้าใจระดับความสามารถความจำเป็นสถานการณ์แวดล้อมและระดับพัฒนาการเฉพาะตัวของเด็กแต่ละคน
- ปลูกฝังการมีวินัยในตนเอง
- รับฟังและทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
- ใช้การทำผิดเป็นโอกาสในการเรียนรู้
- จำกัดอยู่ที่พฤติกรรมของเด็กไม่ใช่ตัวเด็กเอง เช่น “สิ่งที่เธอทำนั้นผิด”
การลงโทษคือ
- บอกแต่ว่าอะไรที่ไม่ให้ทำ
- มีปฏิกิริยาที่โกรธเกรี้ยวต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
- เมื่อเด็กทำตามกฎระเบียบเพราะถูกข่มขู่หรือให้สินจ้างรางวัล
- มีลักษณะของการควบคุมทำให้รู้สึกผิดหรือละอายเยาะเย้ยถากถาง
- มองเด็กในด้านลบและไม่เคารพศักดิ์ศรี
- ก้าวร้าวรุนแรงทั้งทางวาจาและการกระทำ
- มีการให้ผลกระทบที่ไม่เป็นเหตุผลและไม่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็ก
- เมื่อเด็กถูกลงโทษเพราะทำร้ายผู้อื่นมากกว่าแสดงให้เด็กเห็นว่าเมื่อทำผิดแล้วควรทำอย่างไรเพื่อแสดงความรับผิดชอบหรือความเสียใจ
- การปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็กไม่คำนึงถึงสถานการณ์แวดล้อมระดับความสามารถและความจำเป็นในชีวิตของเด็กแต่ละราย
- สอนเด็กให้ทำดีเฉพาะตอนที่อาจถูกจับได้ว่าทำผิดเท่านั้น
- คอยจับผิดเรื่องเล็กๆน้อยๆอยู่ตลอดเวลาจนทำให้เด็กเมินเฉยไม่ยอมฟังหรือให้ความสนใจอีกต่อไป
- บังคับให้เด็กทำตามกฎระเบียบที่ไม่เป็นเหตุผลเพียงเพราะพ่อแม่สั่งว่าอย่างนั้น
- ตำหนิวิจารณ์ตัวเด็กมากกว่าพฤติกรรม เช่น “เธอมันโง่เธอผิดไปแล้ว”
หลัก 7 ประการของการสร้างวินัยเชิงบวก
- เคารพศักดิ์ศรีของเด็ก
- พยายามพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์การมีวินัยในตนเองและบุคลิกลักษณะที่ดี
- พยายามให้เด็กมีส่วนร่วมมากที่สุด
- คำนึงถึงความต้องการทางพัฒนาการและคุณภาพชีวิตของเด็ก
- คำนึงถึงแรงจูงใจและโลกทัศน์ของเด็ก
- พยายามให้เกิดความยุติธรรมเท่าเทียมกันและไม่เลือกปฏิบัติ
- เสริมสร้างความสามัคคีกลมเกลียวในกลุ่ม
ผศ.ดร.สมบัติ ตาปัญญา เรียบเรียงจาก Power, F. Clark and Hart, Stuart N. “The Way Forward to Constructive Child Discipline,” in: Hart, Stuart N. (ed.), and Eliminating Corporal Punishment: The Way Forward to Constructive Child Discipline. Paris: UNESCO Publishing.