หน้าแรก 9 ความรู้ปกป้องเด็ก 9 สื่ออย่างไรให้ “พิทักษ์สิทธิเด็ก” | มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

สื่ออย่างไรให้ “พิทักษ์สิทธิเด็ก” | มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

สื่อมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็ก การถ่ายภาพเด็ก การใช้ภาพถ่าย การบันทึกเสียง การรายงานข่าวทั้งในสถานการณ์ปกติและฉุกเฉิน การสัมภาษณ์เพื่องานวิจัย และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ผู้ที่นำเสนอควรทำอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้ละเมิดสิทธิของเด็ก เครือข่ายสิทธิเด็กมีแนวทางและปฏิบัติในการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ดังต่อไปนี้

๑. รูปภาพ การถ่ายภาพ/วีดีโอบันทึกภาพ เสียง
– การบันทึกภาพและใช้ภาพเด็กควรได้รับอนุญาตจากเด็กและผู้ปกครองทุกครั้ง โดยให้แจ้งวัตถุประสงค์ของการ ถ่ายภาพหรือใช้รูปภาพให้ทราบ หากเห็นว่าการบันทึกภาพหรือใช้ภาพอาจมีความเสี่ยงต่อเด็กที่ทําให้เด็กได้รับ อันตรายทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ควรมีมาตรการป้องกันการละเมิดต่อเด็ก มีเจ้าหน้าที่คอยให้คําแนะนําต่อเด็ก ตลอดกระบวนการ
– เจ้าหน้าที่ควรแนะนําผู้มาเยี่ยม ผู้ให้ทุนในการถ่ายภาพและพูดคุยกับเด็กอย่างเหมาะสม – การนําไปใช้ควรระบุแหล่งที่มาของภาพ (เช่น ชื่อองค์กร ไม่ระบุชื่อเต็ม และข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ของเด็ก)

๒. การสัมภาษณ์และการรายงานข่าวที่เกี่ยวกับเด็กและครอบครัวทั้งในสถานการณ์ปกติหรือกรณีฉุกเฉิน/ภัยพิบัติ
– เจ้าหน้าที่ควรทําความเข้าใจเกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองเด็กในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แก่ผู้สัมภาษณ์และทีมงาน
– เจ้าหน้าที่ควรทําความเข้าใจต่อเด็กและผู้ปกครอง เกี่ยวกับผลดีและผลเสีย ในการยินยอมให้สัมภาษณ์นักข่าว และ แจ้งต่อเด็กและผู้ปกครองทราบว่า หากต้องการ เจ้าหน้าที่ขององค์กรยินดีอยู่กับเด็กด้วยในขณะให้สัมภาษณ์ (เพื่อ ช่วยกลั่นกรองคําถามของนักข่าว ที่อาจละเมิดต่อสิทธิเด็กโดยมิได้ตั้งใจ)
– ควรแจ้งให้เด็กผู้ปกครองทราบว่า การให้สัมภาษณ์นั้น ถือเป็นการสมัครใจ ซึ่งเด็กมีสิทธิที่จะไม่ตอบคําถามที่ไม่ ต้องการตอบ มีสิทธิที่จะยุติการให้สัมภาษณ์เมื่อใดก็ได้โดยจะไม่มีผลเสียใดๆ เกิดขึ้นต่อเด็ก และเด็กมีสิทธิที่จะ ยินยอมเพียงให้สัมภาษณ์เท่านั้นและไม่ยินยอมให้ถ่ายรูป ฯลฯ
– ห้ามเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ชื่อ อายุและที่อยู่ของเด็กและครอบครัว
– ขออนุญาตพ่อแม่ ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ในทุกขั้นตอนการผลิตและเผยแพร่สื่อ กรณีที่มีการเปลี่ยนใจภายหลังและ ขอให้ยกเลิกการนําเสนอข่าว ต้องเคารพการตัดสินใจและไม่นําข่าวเผยแพร่
– ระมัดระวังการใช้ภาษา จะต้องไม่ส่อเสียด เปรียบเปรย ดูถูก หรือทําให้เด็กและครอบครัวได้รับความอับอาย

๓. บทสัมภาษณ์ข้อเขียน งานวิจัย
– จะต้องได้รับความยินยอมเห็นชอบจากเด็กและจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็กก่อนการสัมภาษณ์
– เจ้าหน้าที่ควรอ่านบทสัมภาษณ์ก่อนทุกครั้ง และทําความเข้าใจกับผู้มาสัมภาษณ์ควรสอบถามก่อนถึงประวัติบุคคล หรือหน่วยงานว่าเคยสัมภาษณ์เด็กมาก่อนหรือไม่ และถ้าเคยเจ้าหน้าที่ควรขอดูผลการสัมภาษณ์เหล่านั้นด้วย
– ผู้สัมภาษณ์ต้องเข้าใจในความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน และการเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของเด็กที่ตกเป็นผู้เสียหาย
– เด็กควรมีเวลาพักผ่อนหรือจนกว่าจะรู้สึกมั่นใจก่อนการสัมภาษณ์
– การสัมภาษณ์ควรจัดในสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร และควรมีบุคคลที่เด็กไว้ใจอยู่ด้วย
– ผู้สัมภาษณ์ควรเป็นเพศเดียวกันกับเด็ก ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่เหมาะสม ใช้ภาษาที่เด็กเข้าใจง่าย
– กรณีเด็กพูดคนละภาษา จะต้องจัดหาล่ามที่มีผรู้ับรองจากหน่วยงาน
– การใช้เครื่องมือบันทึก เช่น กล้องวิดีโอ หรือเครื่องบันทึกเทป ให้ถือเป็นความลับที่ได้รับการยินยอมก่อน และต้อง คุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของเด็กตลอดเวลา

 

ข้อมูลจาก เครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย

ข่าว-บทความ ล่าสุด
แนะนำมูลนิธิฯ