หน้าแรก 9 เรื่องเล่าจากคริสตจักร 9 อาคารเรียนหลังใหม่ ด้วยความร่วมใจของชุมชน

อาคารเรียนหลังใหม่ ด้วยความร่วมใจของชุมชน

 ข้อมูลและภาพ: กิตติ กาทู ผู้ประสานงานพื้นที่

หมู่บ้านเคล้อโค่ ตั้งอยู่ในชายแดนฝั่งพม่า มีประชากรในหมู่บ้าน  37  ครัวเรือน มีเด็กทั้งหมด  125 คน  การเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านสามารถเดินทางเข้าไปโดยทางเรือซึ่งใช้เวลาจากฝั่งไทยถึงหมู่บ้านเพียง 20 นาที  ครั้งแรกที่เข้าไปในหมู่บ้านเป็นการพบปะ แลกเปลี่ยนและพูดคุย กับผู้นำและผู้ปกครองเด็ก ร่วมกับเจ้าหน้าที่และผู้นำคริสตจักรแม่สลิดหลวง(ฝั่งไทย) เพื่อสร้าง นิมิต เป้าหมายในการทำพันธกิจเด็กฝั่งพม่า  ปัญหาที่พบคือเด็กไม่ได้เรียนหนังสือ เนื่องจากในหมู่บ้านยังไม่มีโรงเรียน เด็กจะสามารถได้เรียนเมื่อมีอายุ 10 ขวบ และเด็กจะต้องออกจากหมู่บ้านเพื่อไปเรียนในอีกหมู่บ้านหนึ่ง  ส่วนเด็กเล็กจะถูกปล่อยไว้กับพี่คนโตที่พอจะดูแลน้องได้ หรือฝากไว้กับญาติ หรือฝากไว้เพื่อนบ้านให้ช่วยดูแล เมื่อได้เห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการวางแผนประชุมผู้ปกครองเพื่อสร้างโรงเรียนเล็กๆในหมู่บ้าน โดยสร้างจากไม้ไผ่ที่หามาได้ในชุมชน ด้วยความร่วมมือของผู้ปกครอง ผู้นำ เจ้าหน้าที่ และได้หาบุคลากรในชุมชน 2 ท่าน เพื่อมาสอนเด็กๆ

จนกระทั่งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2014 ทางโครงการพัฒนาเด็กแม่สลิดหลวง  ได้มีการรับเด็กในหมู่บ้านจำนวน 50  คน และเปิดเป็นสาขาโครงการ ทำให้เด็กๆ ในหมู่บ้านนี้มีโอกาสเรียนเพิ่มเติมในวันเสาร์และอาทิตย์ ทั้งในเรื่องทักษะชีวิตและรับการพัฒนาแบบองค์รวม หลังจากนั้นทางผู้นำคริสตจักร เจ้าหน้าที่โครงการ และกรรมการได้มีโอกาสประชุมกันและระดมความคิดในการแก้ไขปัญหาในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับเด็กอีกครั้ง จึงได้เห็นช่องทางและแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเด็ก โดยการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้แก้ไขปัญหา ผู้นำและกรรมการบางท่านเป็นช่างไม้  ส่วนผู้ปกครองเด็กสามารถหาไม้มาสมทบในการก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ได้ จึงมีแผนในการจัดเตรียมพื้นที่แห่งใหม่และก่อสร้างตัวอาคารที่มั่นคงและแข็งแรงกว่าเดิม รองรับเด็กเพิ่มมากขึ้น  โดยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2015 ที่ผ่านมาทางหมู่บ้านได้เปิดอาคารเรียนแห่งใหม่ โดยตัวอาคารสามารถรองรับเด็กในชุมชนทั้งหมดและมีพื้นที่กว้างขึ้นกว่าที่เดิม

ปก-qavah

(ผลจากการทำกระบวนการคาวาห์ :การขับเคลื่อนคริสตจักรสู่การพลิกฟื้นชุมชน” [Qavah : Mobilizing the church] เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมต่อปัญหาที่พบในชุมชน และระดมทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหานั้น )

 

 

อาคารเรียนหลังใหม่ที่กำลังก่อสร้าง

อาคารเรียนหลังใหม่ที่กำลังก่อสร้าง

การประชุม และระดมความคิดในการแก้ไขปัญหาในชุมชน

การประชุม และระดมความคิดในการแก้ไขปัญหาในชุมชน

การประชุม และระดมความคิดในการแก้ไขปัญหาในชุมชน

การประชุม และระดมความคิดในการแก้ไขปัญหาในชุมชน

อาคารเรียนหลังใหม่ ใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชน

อาคารเรียนหลังใหม่ ใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชน

อาคารเรียนหลังแรก สร้างจากไม้ไผ่

อาคารเรียนหลังแรก สร้างจากไม้ไผ่

ข่าว-บทความ ล่าสุด
แนะนำมูลนิธิฯ