เหลียวหลัง แลหน้า

 “เหลียวหลัง แลหน้า”

มูลนิธิดรุณาทรจัดการประชุม “เหลียวหลัง แลหน้า” ให้กับคริสตจักรคู่สัญญาทั้งหมดใน 14 พื้นที่ ได้แก่ อีสานเหนือ, อีสานใต้ , ภาคเหนือบน,ภาคเหนือล่าง, ภาคกลาง,สบเมย-ท่าสองยาง, แม่สะเรียง-แม่ลาน้อย, โซนพี่น้องปกาเกอญอ, บ่อแก้ว, สะเมิง กัลยานิวัฒนา, แม่สอด-แม่ระมาด, อุ้มผาง-พบพระ,เชียงรายบนดอย และเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน

โดยการจัดประชุม “เหลียวหลัง แลหน้า” นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้นำคริสตจักรคู่สัญญาทุกแห่ง  ได้มีช่วงเวลาในการทบทวนพระพรที่พระเจ้าให้แก่คริสตจักรตนเองผ่านงานพันธกิจการพัฒนาเด็กแบบองค์รวม

ซึ่งก็คือ “การเหลียวหลัง นับพระพร”

และในขณะเดียวกันก็ “แลหน้า” เพื่อจะได้ทราบถึงทิศทางของแนวคิด และรูปแบบการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่จะปรับเปลี่ยนในอนาคต เพื่อให้การทำพันธกิจพัฒนาเด็กบรรลุผลอย่างสมบูรณ์ต่อไป

จากการประชุมในหลายพื้นที่ที่ผ่านมา เมื่อเราร่วมกัน เหลียวหลัง นับพระพร  ก็พบว่าผู้นำคริสตจักรต่างๆได้ตระหนักถึงการอวยพรของพระเจ้าที่มีต่อคริสตจักรของเขา  ถึงแม้ว่าในเขามักจะมองเห็นแต่ปัญหาและภาระงานที่หนักหรือ ความขัดแย้ง แต่ถ้ามีเวลาทบทวนกันจริงๆ  จะเห็นว่ามีพระพรของพระเจ้าซ่อนอยู่ข้างหลังอย่างมากมาย และเกือบทุกคริสตจักรจะเห็นได้ว่าพระเจ้าอวยพรเขามากขึ้นๆ  ทุกวันเวลา  โดยเฉพาะเรื่องของ การมีโครงการพัฒนาเด็ก  ทำให้ชุมชนเปิดใจยอมรับคริสตจักร  คริสตจักรสามารถอยู่ร่วมกับชุมชน ทำงานร่วมกับชุมชน และประกาศข่าวประเสริฐในชุมชนได้  จนมีเด็กและครอบครัว หรือคนในชุมชนรับเชื่อ รับบัพติสมา และรับใช้คริสตจักรตนเอง      นอกจากนั้นพระพรที่ได้รับยังมีอีกมาก  เช่น

  • คริสตจักรเป็นศูนย์ของการพัฒนาเด็กแห่งหนึ่งในชุมชน
  • คริสตจักรมีเจ้าหน้าที่/บุคลากรที่มีความรู้เรื่องการพัฒนาเด็ก
  • มีเด็กที่เคยเป็นเด็กในโครงการ จบมารับใช้ หรือมาเป็นเจ้าหน้าที่ในโครงการพัฒนาเด็กๆ
  • คุณภาพชีวิตของเด็กๆ ที่ผ่านการพัฒนาจากโครงการดีขึ้น
  • คริสตจักรมีเครือข่ายในการพัฒนา การฝึกอาชีพ  การดูแลสุขภาพ  และการปกป้องเด็ก
  • คริสตจักรมีความสัมพันธ์กับคริสตจักรอื่นๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงกันมากขึ้น เกิดการช่วยเหลือระหว่างกัน (คลัสเตอร์)

ฯลฯ

ส่วน “การแลหน้า” นั้น เป็นการนำกระบวนการให้ผู้นำคริสตจักรทราบถึงการปรับเปลี่ยนแนวคิดและรูปแบบการจัดโปรแกรมการพัฒนา  และหนุนใจให้เกิดความตระหนักและยอมรับในการปรับเปลี่ยนต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น   ซึ่งได้มีการอธิบายถึงประโยชน์ที่คริสตจักรจะได้รับ ทั้งในเรื่องของแนวคิดการเป็นคู่มิตร  การปรับโปรแกรมการพัฒนาตาม Integrated model, การทำ Home Based, แนวคิดในการพัฒนาวัยรุ่น  และที่เราจะปรับรูปแบบการทำงานโดยทำผ่านระบบเทคโนโลยีมากขึ้น

และพบว่า ผู้นำคริสตจักรได้ให้ความสำคัญและยอมรับการพัฒนาเด็กในรูปแบบใหม่  และมีความหวังว่ารูปแบบใหม่นี้จะส่งผลต่อการนำเด็กของเขาบรรลุสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้มากขึ้น   ซึ่งได้มีการวางแผนเตรียมความพร้อมในแต่ละคริสตจักร  เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  เช่น  การเตรียมความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่  การเตรียมเรื่องแผนการรองรับเด็กที่มีอายุน้อยลง  การจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละวัย การทำงานแบบ Home Based และเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อไป

ข่าว-บทความ ล่าสุด
แนะนำมูลนิธิฯ